ระบบโครงจานดาวเทียม

ความแตกต่างระหว่าง C-Band กับ KU-Band

สัญญาณที่ส่งลงมา จากดาวเทียมที่สามารถรับในประเทศไทย ปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ C-Band และ KU-Band ระบบ C-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ) ระบบ KU-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 10-12 GHz สัญญาณที่ส่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย ใช้กับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้กับระบบการให้บริการ เคเบิ้ลทีวี ภายในประเทศ ความเข้มสัญญาณจะสูง จึงใช้จานขนาดเล็ก 35-75 ซม. เช่น UBC (การรับทีวีผ่านดาวเทียมในระบบ KU-Band ส่วนใหญ่ต้องสมัครสมาชิกจึงจะรับชมได้)
  1. ความเข้มของสัญญาณในการส่ง C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนิค ตามข้อที่ 2
  2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ C-Band จะใช้งานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างขวางทั่วทั้งทวีป แต่ระบบ Ku-Band จะใช้เพื่อครอบคลุมพื้นที่เฉพาะในประเทศ ในทางเทคนิคต้องส่งสัญญาณ C-Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku-Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
  3. ลักษณะของใบจานรับสัญญาณ C-Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบ ทรงกลม ขึ้นรูปพาราโบลิค ขนาดทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 - 10 ฟุต ส่วน Ku-Band จะเป็นจานทึบ Offset รูปไข่ ขนาด 0.35 - 1.80 เมตร
  4. ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียม จากเหตุผลข้อที่ 1 ทำให้ระบบ Ku-Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า C-Band ค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น UBC จะใช้ใบจาน offset ขนาด 35 - 75 ซม. ก็สามารถรับสัญญาณได้ดี ในขณะที่ระบบ C-Band ต้องใช้จานขนาดใหญ่กว่าถึง 2-3 เท่า เพื่อให้รับสัญญาณได้ดี
  5. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของใบจาน ระบบ Ku-Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี ในขณะที่ C-Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ จาน C-Band จานแบบทึบมีให้เห็นบ้างแต่น้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากน้ำหนักมาก และต้านลม แล้วถ้าหากว่า จะใช้จานแบบ C-Band รับสัญญาณระบบ Ku-Band ได้มั้ย ตอบว่าได้แต่ในทางกลับกันจะเอาจาน Ku-Band มารับสัญญาณ C-Band ไม่ได้ นอกจากจะใช้จานขนาดใหญ่จริง ๆ
  6. หัวรับสัญญาณ ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ตำลงมาจนเหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C-band จะรองรับความถี่ 3.4-4.2 GHz ในขณะที่ Ku-Band รองรับความถี่ 10-12 GHz จึงใช้แทนกันไม่ได้ อาจมีบางรุ่นที่ทำแบบ 2 in 1 คือ เอาหัว 2 ระบบบรรจุไว้ใน Case เดียวกัน
  7. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนอกจากผู้ผลิตจะเจตนาให้ตัวเครื่องรับได้เฉพาะระบบ เช่น เครื่องรับสัญญาณของ UBC จะไม่สามรถนำมาใช้รับสัญญาณระบบ C-Band ได้ โดยทั่วไปเครื่องรับสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ เพียงตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
การใช้เข็มทิศ
   การใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจานดาวเทียม   

- ใช้วัดทิศทางในการรับสัญญาณ
- ใช้เทียบวัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB
การเลือกใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจาน
                เข็มทิศมีอยู่มากมายหลายแบบ...แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับช่างติดตั้งจานดาว เทียมในขณะนี้คือ...เข็มทิศแบบไม้บรรทัด เหมือนภาพตัวอย่างนี้...ไม่ว่าจะเป็นบริษัทดาวเทียมใหญ่หรือเล็ก...ตอนนี้ แนะนำให้ใช้เข็มทิศแบบนี้กันทั้งนั้นละครับ
                   ข้อดีของเข็มทิศแบบนี้ก็คือ....สามารถหมุนปรับตั้งตัวเลขอ้างอิงได้...ใช้ วัดปรับทิศได้ค่อนข้างแม่น...และใช้วัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB ได้ด้วย...และสำหรับท่านที่นำไปใช้ควบคู่กับแผนที่ที่มีอัตราส่วนเท่ากันกับ ตัวเลขที่พิมพ์ไว้ข้างๆตัวเข็มทิศ...ก็จะสามารถวัดระยะทางเป็นแบบกิโลเมตร ได้เลยละครับ...และสุดท้ายที่ยากจะแนะนำคือมีแว่นขยายให้ใช้ด้วย...สรุป เข็มทิศนี้ค่อนข้างดีจึงยากแนะนำให้ใช้กันครับ
  
           เข็มทิศเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดทิศทาง  เพื่ออ้างอิง เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กแต่ประโยชน์มากมายครับ  ตัวเข็มทิศผลิตจากแผ่น แม่เหล็กบางๆ  วางไว้บนจุดหมุนที่ไม่มีแรงเสียดทาน  เมื่อเราปล่อยให้แผ่นแม่ เหล็กบางๆนี้เคลื่อนไหวแบบอิสระ  ตัวแผ่นแม่เหล็กก็จะหมุนไปหยุดอยู่ที่จุดๆหนึ่ง  ซึ่งจุดนี้เองทำ ให้เราอ่านทิศทางได้
                       
            การกำหนดทิศเหนือและใต้ที่ตัวเข็มทิศ  สำหรับเข็มทิศรุ่นนี้จะมีการทาสีไว้ที่ตัวเข็ม  โดยกำหนดให้ฝั่งสีแดงเป็นทิศเหนือและฝั่งสีดำจะเป็นทิศใต้  ( เมื่อเข็มทิศหมุนไปหยุดตามทิศทางมันแล้วเท่านั้นครับ )

ตามภาพตัวอย่างรูป
                             
ทิศใต้
ทิศตะวันออก    ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ
    ตัวอักษร   กับ  ทิศทาง   


การนำเข็มทิศและอลูมิเนียมมาประกอบใช้งาน
สำหรับใช้วัดทิศทางการรับสัญญาณในการติดตั้งจานดาวเทียม
             การใช้เข็มทิศสำหรับการติดตั้งจานดาวเทียม ต้องระวังเรื่องการรบกวนที่ จะเกิดกับตัวเข็มทิศด้วย เพราะจะทำให้การวัดทิศเกิดความผิดพลาดได้  และเป็นผลให้หาสัญญาณดาวเทียมไม่เจอด้วยครับ
             การรบกวนเกิดได้จาก ชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก และ  อุปกรณ์ที่มีแม่เหล็ก   สิ่งเหล่านี้ หากว่าตัวเข็มทิศวางอยู่ใกล้ๆ จะทำให้เข็มทิศเพี้ยนจากความเป็นจริงได้ ต้องระวังเมื่อมีการเทียบวัด

             
ต่อไปนี้คืออุปกรณ์เสริมที่จะทำให้การวัดทิศวัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น

* สาเหตุที่ต้องใช้อลูมิเนียมมาประกอบใช้...เพราะแผ่นแม่เหล็กของตัวเข็มทิศจะ ไม่ดูดกับตัวฉากอลูมิเนียมทำให้การปรับเทียบวัด...ทำได้แม่นยำยิ่งขึ้นครับ
ฉากแบบนี้ใช้เหล็กฉากไม่ได้นะครับ

  อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้ครับ
  1. อลูมิเนียมแบบฉากความยาวประมาณ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. ( ห้ามใช้เหล็ก )
  2. เข็มทิศแบบไม้บรรทัดตามแบบภาพหรือไกล้เคียง  ( เอาแบบปรับหมุนองศาได้ )
นำเอาเข็มทิศติดไว้กับอลูมิเนียมแบบฉากโดยใช้เทปกาว 2 หน้า
เท่านี้ท่านก็มีอุปกรณ์วัดทิศแบบสุดยอดไว้ใช้ติดตั้งจานดาวเทียมแล้วละครับ
                         
   วิธีการใช้เข็มทิศสำหรับจาน FIX.  
              ถ้าเราใช้เข็มทิศเป็นก็จะช่วยให้การติดตั้งง่ายและเร็วยิ่งขึ้นครับ
การใช้เข็มทิศสำหรับจาน FIX. มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ครับ
 1. เลือกดาวเทียมที่จะรับ
 2. เช็คมุมส่ายของดาวเทียมที่จะรับว่าอยู่ที่กี่องศา ( Az ) แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน

 3. ปรับหมุนตัวเลขที่วงกลมสีส้มของเข็มทิศให้ได้ตัวเลข ตามค่าองศามุมส่าย
 4. นำเข็มทิศไปวางทาบด้านข้างคอจาน
 5. ปรับดันหรือดึงหน้าจานให้เข็มทิศหมุนตรงตามทิศ เหนือใต้
     โดยให้เข็มสีแดงชี้ที่ตัว N และเข็มสีดำชี้ที่ตัว S
     เท่านี้เราก็จะได้ทิศของจานแบบ Fix. แล้วละครับ ที่เหลือก็ปรับมุมก้มเงยช่วย
ทดลองใช้เข็มทิศตั้งรับ
ดาวเทียม ไทยคม 2/3

1. เปิดดูจากตารางจะมีทิศมุมส่าย  (Az)
  ที่ 240 องศา สำหรับกรุงเทพฯครับ
   ( แต่ละจังหวัดมีค่าไม่เท่ากันครับ )
2. ปรับหมุนเข็มทิศให้ได้ตัวเลข
   ที่ 240 องศา เหมือนภาพตัวอย่าง
   ให้สังเกตุตัวเลขที่หมุน ให้ไปตรงกับขีด
    สีแดง ที่อยู่ด้านล่างของเข็มทิศ
    ( ขีดสีแดงนี้คือเส้นสำหรับอ้างอิง )
การใช้ชุดเข็มทิศวัดที่หน้าจาน
เมื่อตั้งตัวเลขได้ตามองศามุมส่าย Az แล้ว
1. ให้นำชุดเข็มทิศไปทาบกับด้านข้าง
   คอจานเพื่อปรับวัด
2. ปรับดึงหรือดันหน้าจานดาวเทียมพร้อม
   สังเกตุที่ตัวเข็มทิศ ให้เข็มที่หมุนตรงกับ
   ทิศเหนือและทิศใต้ หรือ N กับ S
   โดยเข็มสีแดงจะตรงกับทิศเหนือ N
   และเข็มสีดำจะตรงกับทิศใต้ S
   เหมือนภาพตัวอย่างครับ

              เมื่อเราปรับมุมส่ายหน้าจานได้แล้วเท่ากับว่า...จานรับดาวเทียมจะหันหน้าไป ทางดาวเทียมที่เราต้องการรับแล้ว  ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการปรับมุมก้มเงยหาสัญญาณครับ  การปรับรับดาวเทียมดวงอื่นๆก็ทำเช่นเดียวกันครับ
ลองดูนะครับ

   การใช้เข็มทิศวัดเทียบขั้ว LNB สำหรับจาน FIX 


  วิธีการใช้เข็มทิศ  สำหรับจานแบบมูฟ   

               จานแบบมูฟจะมีการวัดทิศเพื่ออ้างอิงเพียงจุดเดียว  คือทิศใต้ครับ วิธีการใช้เข็มทิศวัดทิศใต้จะมีวิธีการวัดง่ายๆดังนี้ครับ


ปรับหมุนที่วงกลมสีส้มให้ตัว S ที่วงกลมสีส้มตรงกับเส้นอ้างอิงสีแดงด้านล่างของเข็มทิศดังภาพตัวอย่าง
               
           นำเข็มทิศมาวางทาบกับคอจานดังภาพ  แล้วใช้มือดึงหรือดันหน้าจานให้ตัวเข็มทิศหมุนชี้ตรงตามทิศของเข็มทิศดัง ภาพ โดยให้เข็มสีแดงชี้ที่ตัว N และเข็มสีดำชี้ที่ตัว S แค่นี้ก็จะได้ทิศใต้ของจานแบบหมุนแล้วครับ หน้าจานของจานแบบ มูฟจะหันหน้าไปทางทิศใต้เสมอครับและการวัดนี้เป็นเพียงทิศอ้างอิงนะครับ
<<<<<   


ปรับหน้าจานให้ตัวเข็มทิศสีดำแดงตรงแบบภาพตัวอย่าง
คือ N ตรงกับสีแดง S ตรงกับสีดำ เท่านี้หน้าจานก็จะหันไปทางทิศใต้เรียบร้อยแล้วครับ

(LNB) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับแปลงความถี่ที่ได้รับมาจากดาวเทียมให้ต่ำและมีกำลังมากพอที่จะส่งไปตามสายนำสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าคำว่า low noise แปลว่า สัญญาณรบกวนต่ำ ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้มีสัญญาณรบกวนที่เกิดในตัวมันเองต่ำมากเท่าใดสัญญาณที่มาจากดาวเทียมที่อยู่ในระบบรับสัญญาณก็ถูกรบกวนต่ำมากเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้สัญญาณมีความบริสุทธิ์มากตามไปด้วย ส่วนคำว่า blockdown converter แปลว่า ตัวเปลี่ยนให้ต่ำลง สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนให้ต่ำลงเพราะความถี่ที่มาจากดาวเทียมเป็นความถี่ที่สูงเกินกว่าขีดความสามารถของสายนำสัญญาณจะยอมให้ผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพคือมีการสูญเสียต่ำ จึงต้องมีการแปลงให้อยู่ในช่วงความถี่ที่เหมาะสมเพื่อที่จะให้ถูกส่งผ่านไปตามสายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
MATV คืออะไร
MATV คืออะไร

MATV (Master Antenna TeleVision) ระบบทีวีรวม เป็นระบบที่มีสายอากาศรับสัญญาณทีวีช่องต่างๆ รวมกันเป็นเพียงชุดเดียว แต่สามารถกระจายสัญญาณไปยังจุดต่างๆ ภายในอาคารเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จานดาวเทียมเป็นตัวรับสัญญาณแทนสายอากาศ เพราะสามารถให้สัญญาณที่คมชัดกว่าสายอากาศ สังเกตว่าในปัจจุบันนี้ตามตึกสูง โรงแรม คอนโดมิเนีม อพาร์ทเมนท์ หอพัก ฯลฯ ก็นิยมติดตั้งจานดาวเทียมไว้เพื่อรับสัญญาณ แล้วจึงนำสัญญาณที่ได้มาส่งเข้าระบบทีวีรวม MATV ต่อไป

การออกแบบระบบ MATV และอุปกรณ์ที่ใช้

การออกแบบระบบ MATV 
คือ การวางโครงสร้างบริเวณระดับสัญญาณทีวีที่จุดต่าง ๆ พร้อมกับจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนั้นๆ อย่างละเท่าใด ซี่งในการออกแบบนี้จะทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ ฉะนั้นการออกแบบระบบ MATV คือ ผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบ คือคุณสมบัติและสเปคของอุปกรณ์ MATV

หลักการในการออกแบบระบบ MATV การคำนวณสัญญาณที่ตำแหน่งต่างๆ และตัวอย่างการออกแบบสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารแบบต่างๆ
ใน การออกแบบระบบ MATV นั้น หลักการพื้นฐานที่สำคัญอาจกล่าวได้ว่า มี ประการด้วยกัน คือ


  • สัญญาณที่เอาต์เลตทีวีจะต้องมีคุณภาพดี
  • ราคาของระบบจะต้องถูก

หลัก การประการแรกที่ว่า สัญญาณที่เอาต์เลตทีวีจะต้องมีคุณภาพดีนั้น หมายถึง สัญญาณที่ได้เมื่อแสดงออกที่จอทีวีแล้ว จะต้องชัดเจนไม่มีสัญญาณรบกวนในลักษณะใดๆ ที่จะทำให้ผู้ชมเกิดความรำคาญได้ การที่สัญญาณที่ได้จะมีคุณภาพดีดังกล่าวนี้ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายอย่างด้วยกัน คือ

  • ระดับสัญญาณ (dBuV) จะต้องอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
  • ระดับของอัตราส่วน S/N จะต้องสูงเพียงพอ
  • จะต้องไม่มีภาพซ้อนปรกกฎบนจอทีวี

     คุณสมบัติ ทั้งสามประการนี้นับว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและจะขาดเสียมิได้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตามอย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ตัวอาคารที่ต้องการติดตั้งระบบ 
MATV อยู่ในบริเวณที่ใกล้สถานีส่งของวิทยุ หรือโทรทัศน์ หรือสถานีส่งคลื่นวิทยุอื่นๆ คลื่นต่างๆ เหล่านี้อาจเข้ามารบกวนระบบได้ ในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลโดยละเอียดเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาใน การออกแบบ และต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการขจัดสัญญาณรบกวนนั้นๆ ออกไป ซึ่งก็หมายถึงราคาของระบบจะต้องสูงขึ้น สำหรับช่วงของระดับสัญญาณที่เหมาะสม ค่า S/N ที่จำเป็น และระดับของสัญญาณภาพซ้อนนั้น รายละเอียดได้กล่าวไว้ในบทที่ แล้ว เพราะฉะนั้นขอให้ดูค่าตัวเลขต่างๆ ในบทที่ ประกอบ

     สำหรับหลักการ สำคัญประการที่ ที่ว่า ราคาของระบบจะต้องถูกนั้น อันนี้เป็นหลักการพื้นฐานของทางด้านวิศวกรรมทั่วไป คือ ผู้ออกแบบจะต้องออกแบบให้ระบบทำงานได้ดี โดยที่ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมร่วมกับการออกแบบวงจรการจ่ายสัญญาณอย่างถูกต้อง ในกรณีทั่วๆ ไป ผู้ออกแบบจะต้องทำการประนีประนอมระหว่างคุณภาพของสัญญาณที่ได้รับกับราคาของ ระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้มาก ผู้ออกแบบจะต้องพยายามออกแบบวงจรการจ่ายและกำหนดอุปกรณ์อย่างเหมาะสมเพื่อ ให้ได้คุณภาพของสัญญาณดีพอสมควร ในขณะเดียวกันราคาของระบบก็ไม่สูงมากนัก ในเงื่อนไขการรับที่สัญญาณมีระดับต่ำ และเสียงรบกวนมีมาก ราคาของระบบอาจจะสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัวของกรณีที่ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบที่ต้องหาจุที่เหมาะสมที่สุดระหว่าง คุณภาพของสัญญาณกับราคาของระบบดังกล่าวข้างต้น

การสำรวจข้อมูลขั้น พื้นฐาน
การ สำรวจข้อมูลขั้นพื้นฐานนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบที่โดยเฉพาะในกรณีที่ คาดว่าจะมีสัญญาณรบกวนเข้าสู่ระบบได้มาก ข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสัญญาณทั้ง ประการดังกล่าวในหัวข้อก่อน กล่าวคือระดับสัญญาณของแต่ละช่อง แหล่งของสัญญาณรบกวน และสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพซ้อน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การสอบถามจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคารที่จะทำการติดตั้ง MATV แต่ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีบ้านเรือน หรือการสอบถามทำไม่ได้สะดวก ก็จำเป็นต้องทำการสำรวจเอาเอง ขั้นตอนในการสำรวจควรเป็นดังนี้ คือ
  • ติด ตั้งสายอากาศชั่วคราวในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับการติดตั้งจริง เช่น บนชั้นสูงๆ ของอาคารที่กำลังก่อสร้าง แล้วใช้เครื่องรับทีวีรับภาพจากเสาอากาศ โดยให้ผ่านสายนำสัญญาณยาวกว่า 20 เมตรขึ้นไปถ้าภาพที่รับได้มีคุณภาพดีทุกช่องก็สามารถดำเนินการออกแบบต่อไป ได้ แต่ถ้าสัญญาณบางช่องหรือทุกช่องมีปัญหา เช่น ภาพเป็นหิมะ หรือมีภาพซ้อน เป็นต้น ก็ต้องดำเนินการขั้นต่อไป
  • ในกรณีที่ภาพ เป็นหิมะ ซี่งหมายถึงระดับสัญญาณจริงต่ำ เมื่อเทียบกับสัญญาณรบกวนที่มีอยู่(s/nต่ำ) ให้ใช้สายอากาศที่รู้ค่าอัตราขยาย และเครื่องวัดระดับสัญญาณของทีวี (TV signal level meter)

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ MATV


Modulator :
TMS-VHF Modulator Single Side band VHF
  • ใช้เปลี่ยนสัญญาณ AV สัญญาณ RF ย่าน VL,VH และ S-BAND ทุกช่องกำหนดช่องได้
  • สัญญาณภาพและเสียงมีความคมชัด
  • สัญญาณส่งช่องติดกันได้
  • สัญญาณเอาท์พุท 100/110 dBuV
  • ปรับระดับความแรงของสัญญาณได้ 20 dB
  • สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้ 

TMS-VHF Modulator Single Side band UHF
  • ใช้เปลี่ยนสัญญาณ AV สัญญาณ RF ย่าน UHF กำหนดช่องได้
  • สัญญาณภาพและเสียงมีความคมชัด
  • สัญญาณส่งช่องติดกันได้
  • สัญญาณเอาท์พุท 100/110 dBuV
  • ปรับระดับความแรงของสัญญาณได้ 20 dB
  • สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้ 


Combiner :

AC-20
  • ใช้รวมสัญญาณ 20 ช่อง
  • อัตราขยาย 15 dB +/-2 dB
  • ภาคขยาย Wideband Hybrid IC Module
  • สัญญาณเอาท์พุท 105 dBuV
  • ปรับความแรงสัญญาณได้ 20 dB
  • สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้ 

PC-20
  • ใช้รวมสัญญาณ 20 ช่อง
  • Insertion Loss 14 & 17.5 dB
  • ปรับความแรงสัญญาณได้ 20 dB
  • สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้ 

PC-16
  • ใช้รวมสัญญาณ16 ช่อง
  • Insertion Loss 14
  • มีชุดรวมสัญญาณจากคอมไบเนอร์ตัวอื่นๆ
  • สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้ 

PC-8
  • ใช้รวมสัญญาณ16 ช่อง
  • Insertion Loss 11.5 


Booster :
DA115
  • ใช้ขยายสัญญาณ RF เพื่อกระจายสัญญาณในระบบ MATV,SMATV
  • 1 Input มี Test Point ครอบคลุมตลอดย่านความถี่ 40-860 MHz
  • ปรับเกน และสโลป เร่งลดได้ 20 dB
  • อัตราขยาย 40 dB +/-2 dB Output 115 dBuV
  • ตัวถังทำจากอลูมิเนียมเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น
  • ใช้ขยายสัญญาณ 10-100 จุด 

Splitter
    • Mini Outdoor Splitter and Tap-off
    • มีไฟผ่านระหว่าง Input และ Output

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเสียงในอาคาร